ระเบียบการดัดแปลงต่อเติมบ้านภายหลังการโอนกรรมสิทธิ์
1.การต่อเติมบ้านภายหลังการโอนกรรมสิทธิ์ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยยื่นแบบและเอกสาร สำหรับการดัดแปลงต่อเติมก่อน
2.นำใบอนุญาตแจ้งทางโครงการเพื่อรับทราบ โดยมีเอกสารแนบประกอบดังนี้
2.1.ใบอนุญาตดัดแปลงต่อเติม จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
2.2.แบบดัดแปลงต่อเติมหรือแบบร่างที่ระบุรายการและพื้นที่ดำเนินการ
2.3.ชื่อและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับเหมาและ/หรือผู้ควบคุมงาน
2.4.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาต(เจ้าของบ้าน)
2.5.หนังสือมอบอำนาจในการขออนุญาตดัดแปลงต่อเติมบ้าน กรณีที่เจ้าของบ้านมิได้เป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตด้วยตนเอง
3.การวางเงินค้ำประกัน
เนื่องจากในการดัดแปลงต่อเติมบ้านของอาจส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง เช่น ทางเท้า, ถนน,ท่อระบายน้ำ เป็นต้น ดังนั้น โครงการจึงกำหนดให้มีการวางเงินค้ำประกันก่อนการเข้าดำเนินงานดัดแปลงต่อเติมบ้าน จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) โดยโครงการจะคืนเงินค้ำประกันในส่วนนี้หลังจากที่มีการดำเนินการดัดแปลงต่อเติมแล้วเสร็จและได้รับการตรวจสอบความเรียบร้อยจากเจ้าหน้าที่โครงการแล้ว
4.กฎข้อบังคับในการดัดแปลงต่อเติมบ้าน
4.1. ห้ามทำการดัดแปลงต่อเติมบนรั้วแบ่งแปลง
4.2. ห้ามใช้โครงสร้างของตัวบ้านเป็นโครงสร้างของงานดัดแปลงต่อเติม
4.3. ห้ามเทคอนกรีต บนคานรั้วแบ่งแปลง และ ปิดบ่อพักบริเวณข้างบ้าน
4.4. ระยะเวลาทำงานอยู่ระหว่าง 08.00 น. – 17.00 น.
4.5. ห้ามไม่ให้ทำงานในวันอาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์
4.6. ต้องมีผ้าใบหรือวัสดุปิดกั้นเพื่อกันเศษวัสดุ
4.7. ต้องมีการเก็บเศษวัสดุ บนถนน ฟุตบาท และไม่ทิ้งภายในท่อระบายน้ำ
4.8. ห้ามรถบรรทุกสิบล้อส่งของ และรถขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จเข้าภายในโครงการ (อนุญาตให้รถบรรทุก 6 ล้อ หรือรถที่น้ำหนักไม่เกิน 3 คิว เข้าโครงการได้)
4.9. ห้ามกองวัสดุ สิ่งของต่างๆ บนฟุตบาท ถนน โครงการ
4.10. ห้ามไม่ให้มีการทุบ รื้อ เจาะ ถนน ฟุตบาท รั้วโครงการ บ่อพัก ท่อระบายน้ำ ในทุกกรณี
5.การต่อเติมบ้านต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวงกำหนด